กีฬาวอลเลย์บอล

กีฬาวอลเลย์บอล


กีฬาวอลเลย์บอลเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1895 โดยนายวิล เลียม จี มอร์แกน ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. เมืองฮอลโยค มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้คิดเกมการเล่นขึ้น เพื่อตอบสนอง ประยุกต์กีฬาให้สามารถเล่นในฤดูหนาวได้เขาได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการ เล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่างเสาโรงยิมเนเซียม สูงจากพื้นประมาณ 6 ฟุต 6 นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและแขนตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางในของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลก็ใหญ่ หนักและแข็งเกินไป ทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บจนในที่สุดเขาจึงให้บริษัท A.G. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่ หุ้มด้วยหนังและบุด้วย ยาง มีเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว มีน้ำหนัก 8-12 ออนซ์ หลังจากทดลองเล่นแล้ว เขาจึงชื่อเกมการเล่นนี้ว่า "มินโตเนต" (Mintonette)


ปี ค.ศ. 1896 มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ ( Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุมซึ่งศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Alfred T. Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโตเนต (Mintonette) เป็น "วอลเลย์บอล"(Volleyball) โดยศาสตราจารย์อัลเฟรดให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอล ตกพื้น ต่อมากีฬาวอลเลย์บอลได้แพร่หลายและเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ประชาชนชาวอเมริกันเป็นอย่างมากปี ค.ศ. 1928 ดอกเตอร์ จอร์จ เจ ฟิเชอร์ (Dr. George J. Fisher) ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในระดับชาติ และได้เผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล




ทักษะการเล่น


1. การอันเดอร์บอลคนเดียวอยู่กับที่
ฝึกอันเดอร์บอลให้ได้จำนวนครั้งที่มาก ๆ โดยที่บอลไม่ตกพื้น ต้องฝึกบ่อย ๆ ทุกวันจนสามารถกำหนดทิศทาง และควบคุมระดับความสูงของบอลได้ดี
เช่น จะให้ไปบอลทางซ้าย ทางขวา ไปหน้า ไปหลัง จะให้บอลต่ำหรือบอลสูงก็ได้
2.การอันเดอร์บอลคนเดียวแต่สลับระดับความสูงของบอล
คือ ให้อันเดอร์บอลสูง 1 ครั้ง ต่ำ 2 ครั้ง สลับกันไปเป็นชุด ๆ
การฝึกแบบนี้จะช่วยให้เด็กสามารถควบคุมลูกบอลได้ดี


3. การอันเดอร์บอลคนเดียว
แต่เคลื่อนที่ไปรอบ ๆ สนามวอลเลย์บอล โดยเริ่มฝึกจากรอบเดียวก่อนแล้วค่อย ๆ เพิ่มจำนวนรอบเมื่อนักกีฬามีความชำนาญในการควบคุมบอลได้ดีและมีความอดทนมากขึ้นโดยการฝึกในแต่ละรอบห้ามไม่ให้บอลตกพื้น ถ้าหากบอลตกพื้นก่อนที่จะครบรอบสนามก็ให้กลับไปเริ่มอันเดอร์บอลที่จุดเริ่มต้นใหม่


4. ฝึกให้อันเดอร์บอลสลับความสูง - ต่ำข้ามตาข่าย โดยเริ่มอันเดอร์บอลจากเส้นท้ายสนามด้านหนึ่งไปถึงเส้นท้ายสนามอีกด้านหนึ่งไม่ให้บอลตกพื้น และเมื่ออันเดอร์บอลมาถึงที่ตาข่ายต้องอันเดอร์บอลสูงให้ข้ามด้านบน ของตาข่ายไปอีกฝั่งหนึ่ง นักกีฬาก็วิ่งลอดใต้ตาข่ายไปรับบอลให้ทันก่อนที่บอลจะตกพื้น
แต่ถ้าไปรับบอลไม่ทัน บอลตกพื้นสนามก่อน ต้องกลับไปเริ่มอันเดอร์บอลที่จุดเริ่มต้นใหม่ การฝึกทักษะนี้ช่วงแรกให้ฝึกเที่ยวไปและกลับเพียงรอบเดียว เมื่อนักกีฬามีความชำนาญ ในการควบคุมบังคับทิศทางบอลได้ดีแล้ว ค่อยเพิ่มจำนวนรอบในการฝึกให้มากขึ้น


5. ฝึกอันเดอร์บอลในสนามที่กว้างและยาว
เป็นลักษณะการฝึกแบบเล่นเกมสนุก ๆ แต่ให้นักกีฬาได้ใช้ทักษะ การอันเดอร์บอลที่ฝึกมาแล้วควบคุมบอลไม่ให้บอลตกพื้น โดยเริ่มอันเดอร์บอลจากท้ายสนามไปจนสุดสนามอีกฝั่งหนึ่ง
แล้วอันเดอร์บอลกลับมา ที่เดิมอีกครั้งให้ได้ ฝึกแบบแข่งขันกันสนุก ๆ
คนละ 2 - 3 รอบ หรือมากกว่านั้น แล้วแต่ความสามารถของนักกีฬา ใครที่กลับมาถึงจุดเริ่มต้นก่อนจะเป็นผู้ชนะ หรือจะให้แข่งกันอันเดอร์บอล
ในสนามบาสเกตบอล แล้วพยามยามอันเดอร์บอล ให้ลงในห่วง โดยที่บอลไม่ตกพื้นก่อนคนที่ทำได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ
แบบฝึกอันเดอร์บอลคนเดียวทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นแบบฝึกที่จะทำให้
นักกีฬามีทักษะและความสามารถในการควบคุมบอล บังคับบอลได้ รู้จังหวะ
และน้ำหนักของบอล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถ้าหากนักกีฬาทำได้ดีก็จะเป็นประโยชน์
ทั้งกับตัวเองและทีมด้วย