การคุ้มครองผู้บริโภค

การคุ้มครองผู้บริโภค

ความหมายของการคุ้มครองผู้บริโภค       
 “บริโภค”
  ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า กิน เสพ ใช้  สิ้นเปลือง ใช้สอย จับจ่าย  ดังนั้น คำว่า
“ บริโภค”  จึงมิได้หมายถึง กิน แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายรวมถึง           การจับจ่าย ใช้สอย การซื้อสินค้า หรือบริการต่างๆ เช่น บริการทางการแพทย์ บริการโทรคมนาคม  บริการเสริมความงาม เป็นต้น
    

ส่วนคำว่า
“ผู้บริโภค” หมายถึง  ผู้หนึ่งผู้ใดก็ตาม ที่จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการ เพื่อการอุปโภค บริโภค อันเป็นการตอบสนองความต้องการของตนเอง  ทั้งนี้เป็นความต้องการทางด้านร่างกาย และรวมถึงความพึงพอใจ
 

    


            การคุ้มครองผู้บริโภค หมายถึง การปกป้องดูแลผู้บริโภค ให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรม และประหยัด จากการบริโภคสินค้าและบริการ 

สิทธิคุ้มครองผู้บริโภคในมาตรฐานสากล

การคุ้มครองผู้บริโภคในระดับสากลได้มีการรับรองสิทธิของผุ้บริโภคไว้โดยสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล (Consumers international หรือ CI) ไว้ 8 ประกาศ
   

    1.สิทธิที่จะได้รับสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต (The right to access) ได้แก่ ปัจจัยสี่ รวมถึงการศึกษาและบริการด้านสุขภาพ


    2.สิทธิที่จะได้รับความปลดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ (the right to safety)
 
    3.สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการหลอกลวงของโฆษณา หรือ การแจ้งประกาศที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือ สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ (the right to be informed)
  
    4.สิทธิที่จะได้เลือกซื้อสินค้าและบริการในราคายุติธรรม (the right to choose)

    5.สิทธิที่จะได้แสดงความคิดเห็นในฐานะตัวแทนผู้บริโภคเพื่อให้ได้รับประโยชน์ที่พึงได้ (the right to be heard)

    6.สิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยในกรณีที่ถูกละเมิด หลอกลวง ให้ได้รับสินค้าและบริการที่ไม่มีคุณภาพ (the right to redress)

    7.สิทธิที่จะได้รับความรู้อันจำเป็นต่อการบริโภคอย่างเท่าทัน (the right to consumer education)

    8.สิทธิที่จะได้ดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี และ ยังชีพได้อย่างปลอดภัย (the right to healthy environment)


    สิทธิของผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ปี 2552 ฉบับที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติมนะครับ)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้ความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค โดยบัญญัติถึงสิทธิ
ของผู้บริโภคไว้ในมาตรา 57 ว่า"สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ"

                  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติสิทธิของผู้ บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครอง
ตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้
                  1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่ จะได้รับการโฆษณาหรือการ
แสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะ
ไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม

                  2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการ
ชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม

                  3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐาน
เหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว

                  4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ

                  5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
ตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว


การคุ้มครองผู้บริโภค

1.สิทธิผู้บริโภค
2.การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการโฆษณา
3.การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลาก
4.การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา
5.การคุ้มครองผู้บริโภคโดยประกาศอื่น

วิธีการร้องเรียนเมื่อท่าน ไม่ได้รับเป็นธรรมหรือโดนละเมิด

1.สายด่วน 1166
2.ร้องเรียนท่างจดหมายที่สำนักงานคุ้มครองผุ้บริโภค ชั้น 5 อาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง กระเทพฯ 10210
3.ร้องเรียนด้วยตัวเองที่สำนักงานคุ้มครองผุ้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการและยา หรือ สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด
4.ร้องเรียนกผ่านอินเทอร์เน็ต www.ocpb.go.th หรือ E-mail | consumer@ocpb.go.th